กระทรวงวัฒนธรรม โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จัดโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั่วทิศแผ่นดินไทยขึ้น เพื่อส่งเสริม สืบสาน ทำนุบำรุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงโขน อันเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของประเทศไทย ถือเป็นของขวัญจากรัฐบาล เพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชนในโอกาสสำคัญ ต่างๆ
และเป็นเวทีระดับประเทศที่เปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศที่มีความสามารถทางการแสดงแขนงต่าง ๆ ได้แสดงความสามารถ โดยเป็นการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามราชสุริยวงศ์ กำหนดจัดแสดงตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๖๓ – สิงหาคม ๒๕๖๔ จำนวน ๑๔ ครั้ง ใน ๔ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร
อาจารย์ประเมษฐ์ บุญยะชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ผู้เรียบเรียงบทสำหรับการแสดงครั้งนี้กล่าวว่า เรื่องราวตอนนี้เป็นตอนที่ พระอิศวรทราบความว่าทศกัณฐ์ได้กระทำการเบียดเบียนเทวดาและมนุษย์โลกให้เกิดความวุ่นวาย จึงมีดำริให้พระนารายณ์และพระลักษมี อวตารลงไปเกิดในโลกมนุษย์เพื่อปราบปรามยุคเข็ญ โดยมีเหล่าเทวดารับอาสาลงไปเกิดเป็นทหารของพระราม หรือพระนารายณ์อวตาร
โดยมีทั้งการประพันธ์บทขึ้นใหม่และปรับปรุงจากบทเก่า เป็นตอนที่มีเนื้อหาเรื่องราวสนุกสนานชวนติดตาม มีคติธรรมสอนใจ และสื่อให้เห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามความเชื่อที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบวงศ์มาจากพระนารายณ์ และยังสอดแทรกความรู้ที่มาของสำนวนไทย เช่น ๑๘ มงกุฎ ที่หมายถึงเหล่าเทวดาที่ขอเกิดมาเป็นวานร ๑๘ มงกุฎ บริวารของพระรามซึ่งมิได้มีความหมายในทางหลอกลวงอย่างที่ใช้กันในปัจจุบันแต่อย่างใด
รศ.ดร. ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) พ.ศ. ๒๕๔๘ ผู้กำกับดูแลการ แสดงทั่วประเทศใน ๔ ภูมิภาคทั่วประเทศกล่าวว่าการแสดงชุดนี้ ใช้นักแสดงร่วม ๓๐๐ ชีวิต ซึ่งคัดเลือกจากวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศ และผ่านการฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นเพื่อการแสดงอันวิจิตร เพื่อให้นักเรียนนาฏศิลป์ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และเปิดให้เข้าชมฟรี เพื่อให้ศิลปะไทยเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่มทุกวัยทั่วประเทศ
โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามราชสุริยวงศ์ มีความยาว ๑ ชั่วโมง ๕๐ นาที เป็นการแสดงโขนกลางแจ้งที่ไม่ได้มีการจัดฉากเช่นโขนหลวง เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมได้อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วยฉากสำคัญ ๓ ฉากใหญ่ คือ ฉากเทวสภา ซึ่งแสดงการอวตารของพระนารายณ์ พระนางลักษณมี และเหล่าทหาร ฉากยกรบ ที่จะแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของสองทัพ ระหว่างฝ่ายธรรมะกับอธรรม นำเสนอกระบวนท่ารำอันสวยงามที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์เอาไว้และสืบทอดมาจนปัจจุบัน ทั้งกระบวนท่ารบ กระบวนท่ายกทัพ ท่าขึ้นลอย อันเป็นหัวใจของการแสดงโขน และฉากคืนพระนคร ซึ่งแสดงให้เห็นความสวยงามของกระบวนทัพ และบทประพันธ์ที่ไพเราะงดงาม จากครูทัศนีย์ ขุนทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย-คีตศิลป์) พุทธศักราช ๒๕๕๕
สำหรับการแสดงซึ่งจัดขึ้นใน ๔ ภูมิภาค เริ่มในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นงานน้อมรำลึกวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสิ้นสุดในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สามารถติดตามข้อมูลการแสดงเพิ่มเติมได้ ทาง www.bpi.ac.th หรือ เฟซบุ๊กสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ หรือ โทร. ๐๒-๔๘๒-๒๑๗๖ ต่อ ๓๘๐, ๓๘๔, ๓๘๖ โดยมีกำหนดการและรายละเอียดการแสดงทั้งหมด ๑๔ รอบใหญ่ (แถบสีเทา) และ ๑๐ รอบย่อย รวม ๒๔ รอบ ดังนี้
๑. วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓
งานน้อมรำลึกวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เวทีหน้าศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมา
๒. วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง (ครั้งที่ ๑) ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓
งานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๓. วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด (ครั้งที่ ๑) ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓
พิธีเปิดสังคีตศาลา วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด
๔. วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี (ครั้งที่ ๑) ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๓
งานรำลึกวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ครบ ๑๑๖ ปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
๕. วิทยาลัยนาฏศิลป(ครั้งที่ ๑) ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๓
งานพระมหาธีรราชเจ้ารำลึก และมหกรรมวัฒนธรรม จังหวัดนครปฐม ประจำปี ๒๕๖๓ องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
๖. วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ๓ มกราคม ๒๕๖๔
งานฤดูหนาวและงาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่ ประจำปี ๒๕๖๔ สนามหลังศาลากลางเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
๗. วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ๑๗ มกราคม ๒๕๖๔
งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ๔๕ ปี พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ๗๓๘ ปี ลายสือไทย ประจำปี ๒๕๖๔ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
๘. วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี (ครั้งที่ ๒) ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
พิธีเปิดสังคีตศาลา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
๙. วิทยาลัยนาฏศิลป (ครั้งที่ ๒) ๒๓ มกราคม ๒๕๖๔
งานเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี ๒๕๖๔ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
๑๐. วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช (ครั้งที่ ๑) ๒๕-๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วันมาฆบูชา ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี ๒๕๖๔ สนามหน้าเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช
๑๑. คณะศิลปนาฏดุริยางค์ (ครั้งที่ ๑) กุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๖๔
งานพระนครคีรี-เมืองเพชร ประจำปี ๒๕๖๔ พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี
๑๒. คณะศิลปนาฏดุริยางค์ (ครั้งที่ ๒) กุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๖๔
เทศกาลสุดยอดลิ้นจี่ ส้มโอขาวใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ประจำปี ๒๕๖๔ ลานหน้าศาลากลาง จังหวัดสมุทรสงคราม
๑๓. วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ (ครั้งที่ ๑) มีนาคม ๒๕๖๔
งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี ๒๕๖๔ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
๑๔. วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง (ครั้งที่ ๒) ๖ เมษายน ๒๕๖๔
งานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และงานกาชาดจังหวัดอุทัยธานี ประจำปี ๒๕๖๔ ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
๑๕. วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง
(ครั้งที่ ๑) ๘ เมษายน ๒๕๖๔ วันอนุรักษ์มรดกไทย (สัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน ๒๕๖๔)
ศาลากลางจังหวัดพัทลุง
๑๖. วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี (ครั้งที่ ๑) ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔
งานที่ระลึกวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอดอนเจดีย์จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๗. คณะศิลปศึกษา เมษายน ๒๕๖๔
งานมหกรรมใต้ร่มพระบารมี ๒๓๙ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ (รอยืนยันการจัดงานจาก วธ.) ท้องสนามหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
๑๘. วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด (ครั้งที่ ๒) ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดหอโหวดชมเมืองหอโหวดชมเมือง สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด บึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
๑๙. วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ (ครั้งที่ ๒) กรกฎาคม ๒๕๖๔
พิธีเปิดสังคีตศาลาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์
๒๐. วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง
(ครั้งที่ ๒) ๑๕-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
โขนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช (ครั้งที่ ๒)
๒๑. วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี (ครั้งที่ ๒) ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔
งานนิทรรศการ และการแสดงเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
๒๒. วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี (ครั้งที่ ๑) ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
งานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ดำเนินการโดย วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
๒๓. วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี (ครั้งที่ ๒) ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔
งานเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ดำเนินการโดย จังหวัดลพบุรี) โดมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองลพบุรี
๒๔. วิทยาลัยนาฎศิลป เชียงใหม่ (ครั้งที่ ๒) ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔
โขนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชานุสาวรีย์ สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่