ทีเคพาร์ค ชวนฟังดนตรีและสร้างศิลปะในกิจกรรม “นิทานสร้างงานศิลป์”

สถาบันอุทยานการเรียนรู้ หรือ ทีเคพาร์ค เชิญชวนเยาวชนและครอบครัว เข้าร่วมกิจกรรม “นิทานสร้างงานศิลป์”

งานแสดงผลงานศิลปะฝีมือเด็กๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนิทาน สะท้อนความสุข สนุกสนาน และอิสระในการสร้างสรรค์

ข่าว, ทีเคพาร์ค, นิทานสร้างงานศิลป์, ครอบครัว, ซูมซอกแซก

โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจินตนาการหลากหลาย อาทิ การ ชมผลงานศิลปะฝีมือเด็กๆ จากการออกแบบกระเป๋าและปั้นถ้วยดินใบน้อย ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานเรื่อง “กระเป๋าผ้าของคุณกระต่าย” ของ คุณโคยามะ โยชิโกะ และคุณคามิโมโตะ โคโซ  และนิทาน “A Cup for Everyone” ของคุณยูซูเกะ โยเนซึ

พร้อมสนุกกับการเวิร์กช็อปศิลปะ ที่ให้เด็กๆ และครอบครัว ร่วมออกแบบผลงานที่ได้รับแรงแรงบันดาลใจหลังจากฟังนิทานภาพ และชมการเล่านิทานในสไตล์คามิชิไบ ศิลปะการเล่าเรื่องของญี่ปุ่นได้ในทุกสุดสัปดาห์ นอกจากนี้ร่วมฟังคอนเสิร์ตฉลองวันการเล่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงพร้อมกันกับนานาประเทศทั่วโลก เวิร์กช็อปอูคูเลเล่ พร้อมทั้งสร้างงานศิลปะและชมนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะจากน้องๆ ชุมชนคลองเตยในวันเล่นเพื่อการเปลี่ยนแปลง Playing for Change Day

สำหรับเยาวชนที่สนใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมสนุกๆ ได้ฟรี ตั้งแต่วันที่ 17-25 กันยายน 2565 เวลา 10.30 – 17.30 น. ณ ลานสานฝัน อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tkpark.or.th หรือ www.facebook.com/tkparkclub

ตารางกิจกรรม นิทานสร้างงานศิลป์

  • วันที่ 17 กันยายน 2565 วันเล่นเพื่อการเปลี่ยนแปลง Playing for Change Day ร่วมฟังคอนเสิร์ตฉลองวันการเล่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงพร้อมกันกับนานาประเทศทั่วโลก ชมการแสดงดนตรีจากนักเรียน อาสาสมัครและคุณครูของโรงเรียนสอนดนตรีและศิลปะ มูลนิธิพู่กัน ร่วมเวิร์กช็อป Music for Dummies อูคูเลเล่เล่นง่ายๆ พร้อมทั้งสร้างงานศิลปะเพื่อการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน และชมนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะจากน้องๆ ชุมชนคลองเตย
  • วันที่ 18 กันยายน 2565  ชมการแสดงของเล่นที่ออกแบบและสร้างสรรค์จากกระดาษลัง และเวิร์ก
    ช็อปฝึกทักษะการคิดการออกแบบสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ในกิจกรรม “กระดาษลังสร้างของเล่น”
  • วันที่ 24 และ 25 กันยายน 2565 ร่วมเวิร์กช็อปการเล่นกับสีรูปแบบต่างๆสร้างสรรค์ผลงานจากจินตนาการและการคิดสัมพันธ์เชื่อมโยงในกิจกรรม “เจ้าหมูน้อยไปกินอะไรมา”