“เมื่อความจนเฆี่ยนตีผม” รสชาติเบียร์และรสชาติชีวิต ของ สุพจน์ ธีระวัฒนชัย ผู้บุกเบิกโรงเบียร์ชั้นนำของเมืองไทย

เมื่อความจนเฆี่ยนตีผม เรื่องราวชีวิตของพ่อค้าเด็กที่เริ่มค้าขายตั้งแต่วัยประถมต้น จนกลายเป็นผู้บุกเบิกวงการไมโครบริวเวอรี่ ผลิตเบียร์สดแบบเยอรมัน ขายในราคา คนไทยทำธุรกิจแบบวัดใจ

เปิดโรงเบียร์ขนาดใหญ่ 1,000 ที่นั่งท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก แต่สามารถฝ่าฟันจนมา ยืนอยู่แถวหน้าเป็นเวลายาวนานถึง 2 ทศวรรษ ด้วยความ มุ่งมั่นในใจว่า ผมไม่อยากยากจนอีกต่อไป

รสชาติของชีวิต สุพจน์  ธีระวัฒนชัย เจ้าของโรงเบียร์ เยอรมันตะวันแดงที่เข้มข้นและมีสีสัน ไม่แพ้รสชาติของเบียร์  ได้รับการบันทึกเป็นตัวอักษรโดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตบรรณาธิการบริหาร นิตยสารสารคดี ในพ็อคเก็ตบุ๊คชื่อ เมื่อความจนเฆี่ยนตีผมด้วยความที่รู้จัก คุ้นเคยกันมาค่อนชีวิต จึงสามารถนำประวัติศาสตร์การเดินทางของนักสู้ ผู้ที่พ่ายมาหลายครั้งหลายครา แต่ไม่เคยรีรอกับก้าวต่อไปข้างหน้า มาตีแผ่ได้ จริงและ น่าติดตาม

เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ด.ช.สุพจน์ เกิดในครอบครัวที่ไม่ได้มีรายได้มากนัก ต้องช่วยครอบครัว ทำมาค้าขาย ตั้งแต่ขนมหรือน้ำอัดลมใส่น้ำแข็งราคาถ้วยละ 1 สลึง และอีกหลายอย่าง รวมทั้งช่วยเหลือ ครอบครัว ทำเสื้อยืดขายส่งตลาดโบ๊เบ๊  จนถึงวัยเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย เขาก็ได้ทำกิจกรรมมากมาย ที่สำคัญ เขาได้เป็นประธานชุมนุมศิลปะการแสดง ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำหน้าที่หาทุน และบริหารจัดการผู้คน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีในการทำธุรกิจในอนาคต

นั่นไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะราบรื่น ธุรกิจเสื้อผ้าของที่บ้านต้องประสบปัญหา ทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศ และการคดโกงกันในวงการค้าขาย แต่เขาก็ลุกขึ้นอีกครั้ง ด้วยการเป็นผู้ผลิตเสื้อยืด แบรนด์ดังในยุคนั้น แยมแอนด์ยิม สามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ จึงทำการขยายธุรกิจขยายโรงงาน จนเกินกำลังและล้มลงอีกครั้งอย่างไม่เป็นท่า

บทเรียนตลอดทั้งชีวิต สอนให้เขาค่อย ๆ แกร่งขึ้น พร้อมวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล บวกกับนิสัยกล้าได้กล้าเสีย จึงลุกขึ้นอีกครั้งพร้อมเงินทุนก้อนสุดท้าย รวบรวมพลังและผู้ร่วมอุดมการณ์เปิดโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ไมโครบริวเวอรี่ที่นำองค์ความรู้และบริวมาสเตอร์จากเยอรมันมาดูแลการผลิตโดยตรง ด้านดนตรีและความ บันเทิงได้มองความไว้วางใจให้ บรูซ แกสตัน แห่งวงฟองน้ำ มาสร้างเสน่ห์เสริมให้รสชาติเบียร์ทวีขึ้น  

เชื่อไหมว่าถ้าคุณทำที่นั่งแค่ 200 ที่นั่ง คุณเหนื่อยเท่ากับขาย 1,000 ที่นั่ง และไม่คุ้มกับการลงทุน ในเรื่องเครื่องจักรที่ผลิตเบียร์ได้วันละ 2,000 ลิตรผมจะทำเบียร์ที่อร่อยให้ทุกคนดื่ม ผมจะปรุงอาหารที่อร่อย ให้ทุกคนกิน ผมเชื่อว่าพวกผมมีเนื้อแท้คือ ความในใจของผู้ก่อตั้ง

ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของไทย ในช่วงปี 2542 โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงเปิดตัวอย่างสมศักดิ์ศรี โดยคุณสุพจน์ลงมือควบคุมในทุกรายละเอียด สร้างมาตรฐานให้กับทุกด้าน ทั้งการผลิตเบียร์ การครัว การบริการ และการบริหารบุคลากร จริงจังถึงขั้นไปลงเรียนหลักสูตรการประกอบอาหารไทยมืออาชีพ ที่วิทยาลัยดุสิตธานี เพื่อนำมาปรับปรุงให้โรงเบียร์ของเขาได้มาตรฐานสากล

ผ่านไป 20 ปี โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงขยายเป็น 3 สาขา รสชาติของเบียร์เป็นที่เลื่องลือ โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงสูตรเลยตั้งแต่เปิดวันแรก อาหารหลายเมนูเป็นเมนูที่ทุกคนจำได้ เช่น ขาหมูทอดตะวันแดง กุ้งเรือนแก้ว ไหลบัวทอดเต้าเจี้ยว หรือกะหล่ำปลีทอดน้ำปลา มีพนักงานร่วม 1,000 คน ยอดขายรวมทะลุ 800 ล้านบาท

ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะถูกความจนเฆี่ยนตีจนเขาไม่อยากยากจนอีกต่อไป

นอกจากเส้นทางการต่อสู้ชีวิตของคุณสุพจน์แล้ว ใน เมื่อความจนเฆี่ยนตีผมยังนำเสนอความรู้ เรื่องการผลิตเบียร์ หลักการบริหารงานของผู้ที่ประสบผลสำเร็จ  รวมทั้งเรื่องเล่าหลากหลายสีสันจากโรงเบียร์ ที่สามารถสร้างรอยยิ้มให้กับทุกคนไปพร้อมๆ กัน  

เมื่อความจนเฆี่ยนตีผม เปิดเส้นทางชีวิตเจ้าของโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง สุพจน์ ธีระวัฒนชัย ผลงานเขียนของ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา  จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน ราคา 170 บาท วางจำหน่ายแล้ววันนี้