ใช้ชีวิตผิด!! ได้สิทธิ์เสี่ยงโรค NCDs

เพราะไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ส่องสถิติพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรค พร้อมตัวช่วยและเทคนิคง่ายๆ เพื่อลดความเสี่ยง

ในแต่ละยุคสมัยมนุษย์เราต่างมีไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป สังคมปัจจุบันทุกคนต่างใช้ชีวิตที่เร่งรีบ พร้อมกรำศึกหนักหลายบทบาทเพื่อสนองต่อความต้องการในการดำรงชีวิต ทำให้หลายคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่ทำในแต่ละวัน อันนับเป็นภัยใกล้ตัวที่น่ากลัวกว่าที่คิด

แม้ว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่กลับเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิตจนเรื้อรัง จากที่ค่อยๆ สะสมอย่างช้าๆ จนกระทั่งแสดงอาการออกมา อย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้องรัง โรคตับแข็ง และโรคเบาหวาน โรคต่างๆ เหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียดสูง และการรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์

ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรค NCDs กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยที่ป่วยด้วยโรค NCDs มากถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

ซึ่งหากจำแนกตามกลุ่มคนอาจแบ่งได้ ดังนี้

กลุ่มพนักงานออฟฟิศ คนส่วนใหญ่ใช้เวลาเกือบตลอดทั้งวันนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และทำงานหามรุ่งหามค่ำ โดยคนกลุ่มนี้มักจะมีพฤติกรรมที่เร่งรีบ ลืมทานอาหารเช้าหรือซื้ออาหารตามร้านสะดวกซื้อ ทำงานจนดึก นอนน้อย และเกิดความเครียดจากการทำงานหนัก ไลฟ์สไตล์แบบนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ, อ้วนลงพุง, ความดันโลหิตสูง, มะเร็ง และเบาหวาน

กลุ่มคนชอบกิน  ชอบทานอาหารตามหาร้านบุฟเฟ่ต์ที่มีโปรโมชั่น ออกไปรีวิวเครื่องดื่มขนมตามร้านต่างๆ คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักไม่ได้โฟกัสเมนูเพื่อสุขภาพหรือเลือกบริโภคมากนัก ไม่คำนึงพลังงานและสารอาหารที่ได้รับ จึงเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, หลอดเลือดสมองและหัวใจ

-อีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคือ กลุ่มผู้ที่มีไลฟ์สไตล์ไนท์ไลฟ์ ชอบเที่ยวกลางคืน หรือชอบดื่มหนัก มีงานสังสรรค์บ่อย พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเช่นนี้ทำให้คนกลุ่มนี้อาจกำลังเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง, มะเร็ง, ถุงลมโป่งพอง และหลอดเลือดสมองและหัวใจ

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมที่ดูเหมือนชีวิตประจำวันปกติเหล่านี้ นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยที่ผู้ป่วยเองอาจไม่รู้ตัว ด้วยชีวิตประจำที่เร่งรีบและยุ่งอยู่แต่กับการทำงาน จึงทำให้ไม่มีเวลาดูแลสุขภาพ หรือแม้แต่การตรวจสุขภาพเบื้องต้นทั่วไป บทความจาก นายวสุ คุณวาสี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการขาย และการตลาด บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วลองสังเกตไลฟ์สไตล์ตัวเองว่าเข้าข่ายคนกลุ่มไหน แล้วเลือกเช็กสุขภาพตัวเองง่ายๆ ด้วย  “ซีเมท เครื่องวัดคลื่นหัวใจไฟฟ้าส่วนบุคคล” เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจขนาดพกพา ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และสามารถช่วยดูแลสุขภาพหัวใจตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ด้วยขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ใช้ง่ายพกพาสะดวก ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมสามารถที่จะตรวจสุขภาพเบื้องต้นได้ในทุกที่

ทั้งนี้ตัวเครื่องยังถูกออกแบบมาให้สามารถเชื่อมต่อกับ Application บนสมาร์ทโฟน และแสดงผลการตรวจเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 6 Leads, การวัดความดัน, วัดความเครียด พร้อมทั้งให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ใช้ นำไปปฏิบัติในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่มีชีวิตเร่งรีบ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ในการเก็บข้อมูลสุขภาพหัวใจเพื่อส่งให้แพทย์

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และการใช้บริการกับทางโรงพยาบาลเพิ่มเติม  สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด โทร : 091-865-9642  และ www.cmatethailand.com